โครงการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไม่มีสิ้นสุด
ส่งเสริมการเรียนรู้รอบด้านเพื่อสร้างพื้นฐานการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว
การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในระยะยาว โดยมุ่งเน้นทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับชุมชนทุกคน โดยมีตัวอย่างการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมได้ดังนี้
1.โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอีสท์วอเตอร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี บริษัทฯ ต้องการสร้างอนุสรณ์สถานเป็นเอกลักษณ์ และแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ภายใต้ชื่อ “โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอีสท์วอเตอร์” เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเรียนรู้การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี โดยมีการจัดตั้งเป็นฐานการเรียนรู้ ตามกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมส่งเสริมรายได้และลดรายจ่ายของเกษตรกร โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่อำเภอคลองเขื่อน และชุมชนโดยรอบเป็นอย่างดี
บริษัทฯ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองเขื่อน และส่วนงานราชการในอำเภอคลองเขื่อน โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์เรียนรู้ฯ และอนุกรรมการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้ใช้ที่ดินในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ และก่อสร้างอาคารและฐานเรียนรู้แล้วเสร็จในปี 2557 ปี 2558 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอีสท์วอเตอร์ได้เริ่มนำนักศึกษาจากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทราเข้าศึกษาดูงาน อีกทั้งเริ่มจำหน่ายผลผลิตจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอีสท์วอเตอร์ อ.คลองเขื่อนสู่ท้องตลาด ทำให้มีรายได้บางส่วนหล่อเลี้ยงหน่วยงานเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน จำนวน 51,820 บาท ทำให้มีกำไรสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในปี 2559 จำนวน 26,720 บาท
2.โครงการอุทยานการเรียนรู้ระยอง หรือ RK park “อุทยานการเรียนรู้ระยอง” หรือ “Rayong Knowledge Park” เกิดขึ้นตามแนวคิดและความมุ่งหวังของ อีสท์ วอเตอร์ ที่จะสร้างแหล่งเรียนรู้ที่มีบรรยากาศสร้างสรรค์ ทันสมัย สะดวกในการเข้าถึงและใช้บริการ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองและให้เป็นห้องสมุดที่มากกว่า... ห้องสมุด หรือเรียกว่า “ห้องสมุดมีชีวิต” โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากแหล่งเรียนรู้ TK Park ตั้งอยู่ ณ ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ทำให้ต้องการจะขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ในลักษณะห้องสมุดมีชิวิตให้กับชุมชนและเยาวชนในพื้นที่จ.ระยอง เพื่อสร้างสรรค์และสั่งสมความรู้ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โครงการนี้ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากภาคี อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดเตรียมพื้นที่สร้างห้องสมุดมีชีวิต สนับสนุนงบประมาณในการออกแบบและตกแต่งภายในพื้นที่ห้องสมุด พร้อมทั้งจัดหาบุคลากรเพื่อบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ความร่วมมือ ในส่วนของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน) หรือ TK Park ให้ความช่วยเหลือในการแนะนำถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบและจัดรูปแบบตกแต่งอาคารสถานที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้วยแนวคิดห้องสมุดมีชิวิต แนะนำและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวางระบบการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ชุมชน และส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้ ข้อมูล และสื่อการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของแหล่งการเรียนรู้เยาวชนและชุมชน (ณ ปัจจุบันโครงการสิ้นสุดแล้ว)
3.โครงการประกวดนวัตกรรมจัดการน้ำ ด้วย 3R อีสท์ วอเตอร์ ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการจัดทำ “โครงการประกวดนวัตกรรมจัดการด้านน้ำด้วย 3R” เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับอาชีวะถึงอุดมศึกษา ได้มีโอกาสใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการแสดงออกถึงทักษะการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อลดการใช้น้ำให้น้อยลง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ซ้ำและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ โดยนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะถูกนำไปต่อยอดใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมและชุมชนอีกด้วย
โครงการประกวดนวัตกรรม 3R ประจำปี 2553
ผลการประกวดแข่งขันนวัตกรรมจัดการน้ำด้วย 3R ปี1 มีทีมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 21 ทีม จาก 11 สถาบัน ซึ่งผลงานของนักศึกษาที่ชนะการประกวด มีดังต่อไปนี้
ลำดับ |
ชื่อทีม |
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ |
สถาบัน |
รางวัล |
1 |
Bio unique |
ระบบเพาะเลี้ยงและเพิ่มจำนวนพืช |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ชนะเลิศ/ความคิดสร้างสรรค์ |
2 |
กุ้งแห้ง |
การประยุกต์ใช้บึงประดิษฐ์เป็นสวนน้ำในบ้านพักอาศัย |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
รองชนะเลิศอันดับ 1 |
3 |
เทคนิคสิชล1 |
ฝักบัวประหยัดน้ำ |
วิทยาลัยเทคนิคสิชล |
รองชนะเลิศอันดับ 2 |
4 |
CU-HiPEAT |
High Performance Electrocoagulation Algae Treater |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รองชนะเลิศอันดับ 3 |
5 |
Vincent |
ระบบรดน้ำสนามหญ้าอัตโนมัติร่วมกับระบบเก็บกักน้ำฝน |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ชมเชย |
6 |
Invent + C |
ระบบควบคุมการใช้น้ำแบบประหยัดน้ำสำหรับโถปัสสาวะชาย |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ชมเชย |
7 |
LOTUS-2010 |
เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศ |
วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี |
ชมเชย |
8 |
เอชทูโอทรี |
การใช้ก๊าซโอโซนบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมฟอกย้อมเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
ชมเชย |
9 |
วัสดุศาสตร์ |
การแยกสีย้อมแอนไอออนออกจามน้ำเสียสีย้อมโดยใช้ผลพลอยได้จากการผลิดกรดแลกติก |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ชมเชย |
10 |
เทคนิคสิชล2 |
อุปกรณ์เปิดปิดก๊อกน้ำ |
วิทยาลัยเทคนิคสิชล |
ชมเชย |
โครงการประกวดนวัตกรรม 3R ประจำปี 2554
ผลการประกวดแข่งขันนวัตกรรมจัดการน้ำด้วย 3R ปี2 มีทีมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 39 ทีม จาก 20 สถาบัน ซึ่งผลงานของนักศึกษาที่ชนะการประกวด มีดังต่อไปนี้
ลำดับ |
ชื่อทีม |
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ |
สถาบัน |
รางวัล |
1 |
Bio-Agro PSU |
3-Section for Biogas and Water Reuse |
ม.สงขลานครินทร์-อุตสาหกรรมเกษตร |
ชนะเลิศ/ความคิดสร้างสรรค์ |
2 |
หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ |
การจัดการน้ำหลากจากการทำนาเกลือสินเธาว์แบบตาก |
ม.ขอนแก่น - วิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
รองชนะเลิศอันดับ 1 |
3 |
K.RAMP_WATER |
ระบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่สำหรับชักโครกชนิดถังฟลัชจากอ่างล้างหน้า |
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
รองชนะเลิศอันดับ 2 |
4 |
เทคนิคสิชล |
กระบวนการละลายน้ำแข็งสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ |
วิทยาลัยเทคนิคสิชล |
รองชนะเลิศอันดับ 3 |
5 |
นามอุบล |
ระบบจัดการน้ำในธุรกิจล้างขัดสีรถยนต์ |
วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี |
ชมเชย |
6 |
อิเล็คโตรไฟท์ติ้ง |
Rubber Separator by EC |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - วิทยาศาสตร์ |
ชมเชย |
7 |
INVENT+C |
ระบบรีไซลเคิลน้ำเกรย์วอเตอร์ด้วยแวคคูอัมยูวี |
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี - วิศวกรรมศาสตร์ |
ชมเชย |
8 |
KMUTT.E |
เครื่องล้างผักและผลไม้แบบประหยัดน้ำด้วยโอโซน (Ozy3R) |
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี - วิศวกรรมศาสตร์ |
ชมเชย |
9 |
ตึกละออคูลสรูล |
บ่อพักรักษ์น้ำ |
ม.ราชภัฏบุรีรัมย์-คณะวิทยาศาสตร์ |
ชมเชย |
10 |
KKC.rmuti |
ระบบรดน้ำอัตโนมัติ 3R |
มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น |
ชมเชย |
โครงการประกวดนวัตกรรม 3R ประจำปี 2555
ผลการประกวดแข่งขันนวัตกรรมจัดการน้ำด้วย 3R ปี 3 มีทีมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 38 ทีม จาก 18 สถาบัน ซึ่งผลงานของนักศึกษาที่ชนะการประกวด มีดังต่อไปนี้
ลำดับ |
ชื่อทีม |
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ |
สถาบัน |
รางวัล |
1 |
3R ซักหน้อยบ๋อ |
ระบบ Zero Discharge สำหรับอุตสำหกรรมย้อมผ้ำขนำดย่อม |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ชนะเลิศ |
2 |
วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี |
ซักโครก: นวัตกรรมเครื่องซักผ้าและชักโครกประหยัดน้ำ |
ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
รองชนะเลิศอันดับ 1 |
3 |
ส้มซ่าส์ |
ระบบซักผ้า 3R เพื่อโรงแรมสีเขียว |
ม.ขอนแก่น |
รองชนะเลิศอันดับ 2 |
4 |
สร้างต้นทุนพลังงานชุมชนจากน้ำเสีย |
ประโยชน์สามต่อจากระบบบำบัดน้ำเสียการผลิตยางแผ่น |
มหาวิทยาลัยทักษิณ |
รองชนะเลิศอันดับ 3 |
5 |
KMUTT GreenTech |
Urinal 3Rs (โถปัสสาวะประหยัดน้ำพร้อมระบบผลิตปุ๋ย) |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ความคิดสร้างสรรค์/ชมเชย |
6 |
BRAVO |
Household Grey water management system |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ชมเชย |
7 |
KMUTT Hydro |
3R ElectroSorption (กระบวนการอิเลคโทรซอร์บชันเพื่อแยกเกลือออกจากน้ำ) |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ชมเชย |
8 |
UTC-BIOMACHINE |
ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องจักรชีวภาพในบึงประดิษฐ์ |
วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี |
ชมเชย |
9 |
Envi-Grad PSU |
3R New Generation Filter |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ชมเชย |
10 |
Marmoset |
กตัญญู (รักษ์โลก) |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
ชมเชย |
**** หมายเหตุ กิจกรรมนี้มีล่าสุดแค่ปี56
ตลอดระยะเวลากว่า 23 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้สั่งสมประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญ ดำเนินการพัฒนาศักยภาพในด้านธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง โดยมิได้ลืมที่จะคำนึงถึงความห่วงใยและใส่ใจต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ประกอบกับผู้บริหารและพนักงานทุกคนล้วนมีความตั้งใจ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคมให้ดียิ่งขึ้นผ่านโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ขององค์กร และอยู่บนหลักแนวคิดที่ว่า “การพัฒนาชุมชนควรอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน” เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยมิได้ละเลยการรับฟังและตอบสนองความต้องการของชุมชนควบคู่กันไปด้วย เป็นเสมือนการให้และการแบ่งปันอย่างสร้างสรรค์ (Power of creative sharing) อีกทั้งยังร่วมแบ่งปันในสิ่งที่ อีสท์ วอเตอร์ รู้ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องจัดทำโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และชักชวนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายให้แผ่วงกว้างในสังคมมากขึ้น นับได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ โดยใช้ความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง เป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้เติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืนต่อไป
ต่อมาในปี 2556 เพื่อเป็นการขยายผลต่อเนื่องจากโครงการประกวดวัตกรรมจัดการน้ำ ด้วย 3R จึงได้คัดเลือกนวัตกรรมเครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศ โดยวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี ซึ่งได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดนวัตกรรม3Rประจำปี 2553 เป็นนวัตกรรม3Rต้นแบบ ติดตั้งที่ บ่อพักน้ำทิ้งจากครัวเรือนของชุมชนบ้านเอื้ออาทรฉะเชิงเทรา 2-3/1 ต.ลาดขวาง อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา (มีประชากรอาศัยอยู่ จำนวน 660 ครัวเรือน มีขนาดบ่อพักน้ำ 150 x 20 x 2 เมตร รองรับน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ เพื่อปรับสภาพน้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำบางปะกง) โดยบริษัทฯได้ติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศ จำนวนทั้งหมด 4 เครื่อง จากการติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศในพื้นที่ดังข้างต้นแล้วเสร็จในเดือน ตุลาคม 2556 นั้น กลุ่มนักรบสิ่งแวดล้อมและนักสืบสายน้ำจากโรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล ต.ลาดขวาง อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นสมาชิกในชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้เข้าตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำของน้ำในบ่อพักดังกล่าว เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม ผลที่ได้มีแนวโน้มคุณภาพน้ำที่ดีขึ้นจากเดิมก่อนติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศในปี 2557 บริษัทฯได้หารือร่วมกับชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา และศูนย์เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพน้ำ จังหวัดระยอง เกี่ยวกับการเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมเครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศ เพื่อให้มีการขยายเครือข่ายนวัตกรรมให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการมากยิ่งขึ้น โดยให้วิทยาลัยเทคนิคประจำจังหวัดเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก
ในปี 2557 กำหนดให้วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราเป็นกลุ่มเป้าหมายแรก โดยจะให้วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ ด้วยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การสร้างเครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศ ตั้งแต่ 25 – 26 มิถุนายน 2557 รวม 2 วัน ณ วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา โดยจัดครูและนักเรียนเข้ารับการฝึกอบรมฯจำนวน 8 คน หลังจากอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การสร้างเครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศ ให้แก่วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราแล้วนั้น วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราได้นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศ จำนวน 4 เครื่อง และนำไปติดตั้ง ณ คลองนครเนื่องเขต บริเวณตลาดโบราณนครเนื่องเขต อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 2 เครื่อง และ บ่อพักน้ำทิ้งของการเคหะชุมชนฉะเชิงเทราโครงการ 2 จำนวน 2 เครื่อง เพื่อบรรเทาปัญหามลพิษทางน้ำ โดยติดตั้งแล้วเสร็จพร้อมส่งมอบเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการสร้างเครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศให้แก่วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องไปเมื่อปีที่แล้วนั้น ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มที่ได้รับถ่ายทอดความรู้นวัตกรรม และผู้ได้รับประโยชน์จากการติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ ดังนั้น แผนกกิจการสัมพันธ์และ CSR จึงเห็นประโยชน์และโอกาสของโครงการในการขยายต่อไปยังพื้นที่ระยอง เพื่อสร้างเป็นฐานองค์ความรู้เรื่องเครื่องกลเติมอากาศ ประจำพื้นที่จังหวัดระยองด้วย โดยกำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการสร้างเครื่องกลเติมอากาศแบบดูดน้ำและอากาศ ในวันที่ 10 – 11 กันยายน 2558 รวม 2 วัน ณ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย โดยจัดครูและนักเรียนเข้ารับการฝึกอบรมฯจำนวน 12 คน
4.โครงการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาผู้พิการของสำนักงานสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เนื่องจากพบว่าคนพิการในจังหวัดฉะเชิงเทราส่วนใหญ่ ไม่ได้รับรู้สิทธิประโยชน์ของตนเองมากนัก โดยเฉพาะเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง หรือสิทธิบัตร ท.74ตามที่รัฐบาลมีนโยบายออกกฎหมาย หรือระเบียบที่ดีเกี่ยวกับการดูแลคนพิการ ดังนั้นในปี 2553 อีสท์วอเตอร์จึงได้ร่วมกับสภาคนพิการ ทุกประเภทในจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดทำโครงการเพื่อนเยี่ยมเพื่อนขึ้นโดยออกไปเยี่ยมเยี่ยนผู้พิการเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ นำนักกายภาพบำบัดไปสอนวิธีการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่ ผู้พิการ แนะนำวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์/อัมพาต และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรักษาและสิทธิประโยขน์ในการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ ในปี 2555 บริษัทฯ ได้เสริมเรื่องการสอนความรู้ทักษะคอมพิวเตอร์ให้กับผู้พิการที่มีศักยภาพ และสามารถที่นำไปพัฒนาเป็นอาชีพได้ ผลสำเร็จและบทเรียนที่ได้รับ
- ปี 2553 ได้เข้าเยี่ยมเยียนผู้พิการ จำนวนทั้งสิ้น 32 ราย สร้างความสัมพันธที่ดีกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและหน่วยงาน
- ปี 2554 ได้เข้าเยี่ยมเยียนผู้พิการ จำนวนทั้งสิ้น 26 ราย และนำผู้พิการจำนวน 42 คน ไปศึกษาดูงานเพื่อสร้างกลุ่มอาชีพเพื่อมาพัฒนาในกลุ่มของตนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปี 2555 ได้เข้าเยี่ยมเยียนผู้พิการ จำนวน 32 ราย นอกจากนี้ มีผู้พิการจำนวน 5 ราย ได้นำความรู้ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ไปประกอบอาชีพได้
- ปี 2556 ได้เข้าเยี่ยมเยียนผู้พิการ จำนวน 32 ราย พร้อมกับให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพและสิทธิประโยชน์ของผู้พิการและมอบสิ่งของอุปโภค-บริโภคและงบประมาณบางส่วน
- ปี 2556 - 2558 ได้ฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน ให้กับคนพิการใน 11 อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทราอำเภอละ 20 ท่าน รวม 220 ท่าน โดยร่วมกับกศน.จังหวัดฉะเชิงเทราโครงการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาผู้พิการ ณ ที่พักอาศัย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ