การบริหารความเสี่ยงในงานจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารความเสี่ยงในงานจัดซื้อจัดจ้าง
กลุ่มบริษัทอีสท์วอเตอร์มีแนวทางการบริหารจัดการคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท โดยมีความตั้งใจที่จะพัฒนาคู่ค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพของคู่ค้าให้เติบโตคู่ไปกับการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัทอีสท์วอเตอร์อย่างยั่งยืน บริษัทยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบและแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และจรรยาบรรณคู่ค้า ที่คำนึงถึงประเด็นที่สำคัญต่อความยั่งยืน เพื่อประกาศเจตนารมณ์ของกลุ่มบริษัทอีสท์วอเตอร์ที่ชัดเจนและถือเป็นบรรทัดฐานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของกลุ่มบริษัท ตลอดจน การพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้า โดยมีการจัดกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างบริษัทและคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี
นโยบายด้านการจัดซื้อจัดจ้าง
แนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้า
บริษัทได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอจัดซื้อจัดจ้างเป็น 2 หลักเกณฑ์ เพื่อให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ไม่ได้พิจารณาเฉพาะด้านราคาเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ผู้รับจ้างให้ส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุดและราคาอย่างเป็นธรรมให้กับบริษัท คือ หลักเกณฑ์ราคา (Price) และ หลักเกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (Price Performance)
บริษัทได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้าที่มีสิทธิเสนอราคางานโครงการของบริษัทการจัดทำทะเบียนรายชื่อคู่ค้า AVL (Approved Vendor List) แยกตามประเภทของงานที่จะจัดซื้อจัดจ้าง ที่เกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพในขบวนการสูบจ่ายน้ำดิบให้แก่ลูกค้า เพื่อให้มีคู่ค้าเพียงพอต่อการดำเนินงานหลักของบริษัท โดยแยกประเภทของงานเป็น 9 ประเภท และจัดแบ่งระดับการขึ้นทะเบียนในแต่ละประเภท หลักเกณฑ์ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนและการจัดแบ่งระดับพิจารณาจากทุนจดทะเบียน ผลงานที่ผ่านมาในรอบ 10 ปี ผู้รับผิดชอบในดำเนินงาน รวมถึงเครื่องมือ เครื่องจักร
ทั้งนี้ ยังรวมถึงให้มีการประเมินผลงานของผู้ค้าเมื่องานแล้วเสร็จ หรือหากระยะเวลาโครงการดำเนินงานมากกว่า 1 ปี ให้ประเมินผลทุก 1 ปี จนกว่างานจะแล้วเสร็จ และให้มีการทบทวนการขึ้นทะเบียนของผู้ค้าอย่างน้อยทุก 2 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้าได้จัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้บริษัทได้ทบทวนและจัดแบ่งระดับใหม่ตามข้อมูลปัจจุบันของผู้ค้า รวมถึงบริษัทมีสิทธิเพิกถอนผู้ค้าออกจากบัญชีรายชื่อมีสิทธิเสนอราคาได้ในกรณีที่ผลประเมินต่ำกว่าที่บริษัทกำหนด หรือหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการเพิกถอนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
กระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทาน 4 กระบวนการ ดังนี้
การวิเคราะห์และจัดลำดับคู่ค้า
เริ่มจากการรวบรวมคู่ค้าที่มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพในขบวนการสูบจ่ายน้ำดิบในรอบปี 2565 (Tier 1) มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาคู่ค้าที่มีความคำสัญกับบริษัท (Critical Tier 1) ดังนั้น บริษัทจึงได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของคู่ค้าที่สอดคล้องตามประเภทคู่ค้า
ระดับ |
กลุ่มคู่ค้าหลัก |
เงื่อนไข |
สีแดง |
กลุ่มคู่ค้าหลัก (Critical Tier 1 Supplier) |
-มูลค่าสั่งซื้อสูง หรือ -ความถี่ในการสั่งซื้อบ่อย หรือต่อเนื่อง -คู่ค้า AVL เกรดระดับขีดความสามารถที่ดี |
สีส้ม |
กลุ่มคู่ค้ารอง (Manage Supplier) |
-มูลค่าสั่งซื้อปานกลาง หรือ -ความถี่ในการสั่งซื้อค่อนข้างบ่อย หรือค่อนข้างต่อเนื่อง -คู่ค้า AVL เกรดระดับขีดความสามารถปานกลาง |
สีเขียว |
กลุ่มคู่ค้าทั่วไป (General Supplier) |
-มูลค่าสั่งซื้อต่ำ หรือ -ความถี่ในการสั่งซื้อน้อย หรือ ไม่ต่อเนื่อง -คู่ค้า AVL เกรดระดับขีดความสามารถพอใช้ |