เทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำ
พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของศูนย์การผลิตทางด้านอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเลียมและรถยนต์ อีกทั้งยังเป็นศูนย์การขนส่ง ทั้งทางบก ทางทะเลและทางอากาศอันได้แก่ ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ตลอดจนเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เมืองพัทยา การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจึงมีความสำคัญยิ่ง อีสท์ วอเตอร์ จึงได้ลงทุนและให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีอันทันสมัยมาพัฒนาขีดความสามารถของระบบการทำงานพื้นฐาน ทั้งทางด้านการก่อสร้างและระบบการจัดการ ให้มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ระบบควบคุมแบบรวมศูนย์ (Control Center)บริษัทได้นำระบบควบคุมแบบรวมศูนย์ (Control Center) มาใช้ในการบริหารระบบสูบส่งน้ำ โดยมีการจัดการฐานข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและใช้สถานีศูนย์ควบคุมกลาง (Master Centralized Control) เป็นตัวควบคุมการสั่งการและการสื่อสารทั้งหมดในระบบ SCADA รวมถึงใช้โปรแกรมระบบ GIS และแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ เพื่อวางแผนและบริหารจัดการแหล่งน้ำและการใช้น้ำได้อย่างเหมาะสม ทั้งหมดนี้เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำและการบริหารจัดการโครงข่ายท่อส่งน้ำของบริษัทเกิดประสิทธิภาพสูงสุด |
![]() |
![]() |
ระบบควบคุมและประเมินผลแบบศูนย์รวม (Supervisory Control And Data Acquisition หรือ SCADA)คือ ระบบการควบคุมการสูบส่งน้ำทางไกลแบบศูนย์รวม หรือที่เรียกว่า SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) เป็นระบบซึ่งนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาใช้ เพื่อช่วยให้ทราบข้อมูลของแรงดันและปริมาณน้ำในเส้นท่อทั้งโครงข่ายฯ รวมถึงปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ โดยส่งตรงเข้าศูนย์ปฏิบัติการกลาง ทำให้สามารถติดตามผลและแก้ไขปัญหาการส่งน้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดการสูญเสียน้ำในเส้นท่อ จาก 20% เหลือเพียงไม่เกิน 3% ภายในระยะเวลา 3 ปี |
โปรแกรมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และโปรแกรมประยุกต์เพื่อการวางแผนและบริหารจัดการระบบโครงข่ายท่อ (GIS)โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System หรือ GIS) และแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ (Hydrodynamic Model) เป็นการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ มาใช้สนับสนุนการวางแผนบริหารจัดการระบบโครงข่ายท่อส่งน้ำ เช่น ปริมาณน้ำต้นทุน (ปริมาณน้ำจัดสรรและแหล่งน้ำธรรมชาติ) ความต้องการใช้น้ำ ประสิทธิภาพของระบบสูบจ่าย และต้นทุนค่าน้ำ/ค่าพลังงาน เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดทำแผนและบริหารจัดการน้ำ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และสามารถรองรับการบริหารจัดการน้ำได้ครอบคลุมทุกกรณี ทำให้การจัดทำแผนและการบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด |
![]() |
![]() |
เทคโนโลยีการต่อประสานท่อโดยไม่หยุดจ่ายนํ้า (Hot Tapping / Wet Tapping)เป็นเทคโนโลยีการประสานท่อประเภทหนึ่ง โดยมีกระบวนการก่อสร้างระบบป้องกันดินพังและทำการขุดหน้าดินถึงระดับท่อส่งน้ำเดิม แล้วจึงทำการเชื่อมท่อเก่ากับท่อใหม่ ทำให้สามารถซ่อมบำรุงท่อ Reroute แนวท่อใหม่ หรือทำท่อแยกเพื่อสูบส่งน้ำไปยังจุดอื่น โดยไม่ต้องหยุดระบบการจ่ายน้ำให้กับผู้ใช้บริการ |
เทคโนโลยี Sink Caissonใช้ในการก่อสร้างโรงสูบน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าดินในบริเวณที่ก่อสร้าง ทำการก่อสร้างโรงสูบบนผิวน้ำ โดยใช้น้ำหนักของคอนกรีตกดจมตัวเอง แล้วจึงตักดินขึ้นมาจนเป็นบ่อลึก ซึ่งมีประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ามาในระหว่างงานก่อสร้างใต้ดิน อีกทั้งยังไม่ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพน้ำขุ่น ไม่ได้มาตรฐาน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำดิบที่ให้บริการแก่ลูกค้า |