ธุรกิจนํ้าประปา/น้ำอุตสาหกรรม
ธุรกิจน้ำประปา (Tap Water)
ด้วยความพร้อมด้านการบริหารจัดการน้ำมากกว่า 20 ปี และความเชี่ยวชาญในการบริหารกิจการประปาของกลุ่มบริษัทอีสท์วอเตอร์ ทั้งการผลิตน้ำประปาจากน้ำผิวดิน และ การผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำผิวดิน โดยกลุ่มบริษัทเป็น ผู้นำเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลโดยใช้ระบบรีเวอร์ส ออสโมซีส (Reversed Osmosis) หรือการแยกเกลือออกจากน้ำ เป็นรายแรกของประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสำคัญๆ ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนจากหน่วยงานราชการ ทั้งนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพในการผลิตน้ำประปาและสามารถส่งจ่ายให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ด้วยประสบการณ์และความชำนาญในการบริหารระบบ “นํ้า” อย่างครบวงจร กลุ่มบริษัท อีสท์วอเตอร์ จึงได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานราชการต่างๆ ให้ร่วมลงทุนเพื่อบริหารกิจการประปาในหลายพื้นที่ ในรูปแบบสัญญาสัมปทาน เช่น สัญญา BOO (Build-Own-Operate), BTO (Build-Transfer-Operate), BOOT (Build-Own-Operate-Transfer) และ Lease ในระยะเวลา 15-30 ปี กับคู่สัญญา
การร่วมลงทุนดังกล่าวจะช่วยลดภาระการจัดหางบประมาณการลงทุนของภาครัฐ โดยเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐจากผู้ดำเนินการ (Operator) เป็นผู้ควบคุมดูแล (Regulator) ทำให้ภาครัฐสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งในด้านการขยายเขตจำหน่ายน้ำและการสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำ โดยกลุ่มบริษัทอีสท์วอเตอร์ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการลงทุนและการบริหารโครงการทั้งหมด ส่วนคู่สัญญาจะชำระค่าจ้างตามหน่วยน้ำที่ผลิตได้
รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อฝ่ายพัฒนาธุรกิจโทร 02-272-1600 ต่อ 2358
ระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรมอีสท์ วอเตอร์ (Industrial Water Plant)
ปัจจุบันบริษัทก้าวสู่การดำเนินธุรกิจน้ำครบวงจรอย่างเต็มรูปแบบ โดยในปี 2565 บริษัทได้ก่อสร้างระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรมแห่งแรกของบริษัท รูปแบบ External Sludge Retune กำลังการผลิตสูงสูด 100,000 ลบ.ม./วัน มีรูปแบบสัญญาให้บริการแก่ลูกค้าแบบ BOO (Build-Own-Operate) และเป็นระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรม รูปแบบ External Sludge Retune ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยการวิเคราะห์รูปแบบ และกระบวนการสำหรับระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรม สามารถลดต้นทุนการก่อสร้างด้วยการลดพื้นที่ในการก่อสร้าง ติดตั้งระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรมได้ กว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับการก่อสร้างระบบถังตกตะกอนแบบธรรมดา รวมถึงลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ของเสียที่เกิดขึ้นจากระบบ ลดพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
บริษัทได้นำเทคโนโลยีระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรมที่มีถังตกตะกอน Solid contact ประเภท External Sludge Return มาใช้ในการผลิตน้ำอุตสาหกรรม โดยถังตกตะกอนประเภทนี้เป็นถังตกตะกอนที่ออกแบบให้สามารถนำตะกอนที่เกิดขึ้นในระบบย้อนกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ในระบบตกตะกอนได้ (Sludge Return) โดยนำย้อนกลับมาเข้าระบบใหม่พร้อมกับน้ำดิบที่เข้าระบบ ตะกอนที่ถูกหมุนเวียนกลับมาเข้าระบบใหม่นี้จะทำหน้าที่ช่วยในการตกตะกอน ทำให้การตกตะกอนเกิดขึ้นรวดเร็ว ส่งผลให้ใช้ระยะเวลาในการตกตะกอนน้อยกว่าถังตกตะกอนที่ไม่มีการนำตะกอนย้อนกลับมา พื้นที่ที่ใช้ในการผลิตน้ำในอัตราที่เท่ากันจึงมีขนาดเล็กกว่าถังตกตะกอนรูปแบบอื่นๆ (Small footprint) เทคโนโลยีการผลิตน้ำประเภทนี้เรียกโดยทั่วไปว่า ระบบตกตะกอนในอัตราสูง (High Rate Clarification system) เนื่องมาจากระยะเวลาที่ใช้ในการตกตะกอนที่รวดเร็ว
ในปี 2565 บริษัทได้เริ่มให้บริการน้ำอุตสาหกรรม ในจังหวัดระยอง โดยมีปริมาณน้ำดังตารางด้านล่าง
รายละเอียด |
ปริมาณน้ำ |
หมายเหตุ |
ปริมาณน้ำเข้าระบบผลิต (ลบ.ม.) |
4,083,182.20 |
|
ปริมาณน้ำออกจากระบบ (ลบ.ม.) |
4,051,351.85 |
|
ปริมาณน้ำสูญเสียในระบบผลิต (ลบ.ม) |
31,830.35 |
น้ำจากการล้างระบบฯ จะนำกลับมาใช้ใหม่ |
ประโยชน์ที่ได้รับ
รายละเอียด |
ระบบเดิม (Conventional) |
ระบบใหม่ (Sludge Return) |
การเปรียบเทียบ |
1.พื้นที่สำหรับก่อสร้างระบบผลิต |
6,400 ตร.ม. |
3,000 ตร.ม. |
เมื่อเทียบระบบผลิตที่อัตรากำลังผลิตเท่ากัน พบว่าระบบใหม่ใช้พื้นที่น้อยกว่าระบบเดิม เนื่องจากระบบตกตะกอนแบบ Sludge Return ใช้พื้นที่รวมลดลงประมาณ ร้อยละ 50 จากระบบเดิม ส่งผลทำให้สามารถลดต้นทุนการจัดหาพื้นที่สำหรับติดตั้งระบบผลิตได้ |
2.ระยะเวลาการก่อสร้าง |
13-14 เดือน |
6-8 เดือน |
ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อสร้างระบบ |
3.ระยะเวลาในการผลิตน้ำหยดแรก |
180-200 นาที |
40-60 นาที |
ระบบใหม่ลดเวลา และพลังงานในการผลิตน้ำหยดแรก ส่งผลให้ระบบใหม่ใช้เวลาการผลิตน้ำลดลง เมื่อเทียบปริมาณน้ำที่ผลิตได้เท่ากัน |
4.การใช้สารเคมีในระบบ |
|
ลดการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรมได้มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับคุณภาพน้ำของน้ำอุตสาหกรรมที่ผลิตได้เท่ากัน (ค่าความขุ่น < 1 NTU) |
|
5. อัตราน้ำสูญเสีย |
ร้อยละ 97 |
มากกว่า ร้อยละ 99 |
ระบบออกแบบให้ใช้น้ำในการล้างบ่อกรองน้อยกว่าระบบเดิม และมีการนำน้ำล้างกลับมาหมุนเวียนผลิตเป็นน้ำอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้มีอัตราน้ำสูญเสียต่ำ |
6.การกำจัดของเสียที่เกิดจากระบบผลิตน้ำอุตสาหกรรม |
|
ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดตะกอนได้ > 50 % เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเดิม เนื่องจากมีการหมุนเวียนตะกอนกลับมาใช้ในระบบ |